“พวงมะโหตร : Puang Ma Hoat” ของชาวไทยเบิ้งโคกสลุง
พวงมะโหตร คืองานตัดกระดาษ ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมพื้นบ้านอย่างหนึ่ง ที่มักใช้ในงานเทศกาลต่างๆ เช่น กฐิน ผ้าป่า เทศน์มหาชาติ และงานบุญประเพณีต่างๆ เช่นงานบวช งานบุญที่บ้าน เรียกได้ว่าเป็นเครื่องหมายแห่งความดีเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมแรงร่วมใจ
ในสมัยก่อนพระสงฆ์จะเป็นผู้สอนทำพวงมะโหตร ตกแต่งในงานประเพณีเทศกาลต่างๆ ในวัด ชาวบ้านจะนำมาใช้ในงานบวช งานบุญที่บ้านและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ และพวงมะโหตรเป็นสิ่งสำคัญ ในการนำมาตกแต่งรวมกันเป็นต้นดอกไม้ที่ใช้ในงานประเพณี “แห่ดอกไม้” ช่วงตรุษสงกรานต์ของชาวไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง
“พวงมะโหตร” เครื่องหมายความดี สัญลักษณ์ความร่วมแรงร่วมใจ ก่อเกิดความสุขที่สัมผัสได้ของชาวไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง
“Puang Ma Hoat” is paper cutting, which is a local fine art. We always use it for decorating the place at festivals such as The Kathin ceremony, robes, Thet Maha Chat and traditional merit-making (Ordination ceremony, House blessing ceremony). This can be called “The signal of goodness and united”.
In ancient times, the monks would teach how to make “Puang Ma Hoat” to decorate in traditional festivals at the temples. Locals would use for Ordination ceremony and House blessing ceremony. This is inherited until recently.
Apart from that, Puang Ma Hoat is a very important thing for decorating with paper flowers tree in “Hae Dok Mai” festival in Songkran’s day of Thai Bueng locals, Khok Salung.
ขั้นตอนการทำ “พวงมะโหตร : Puang Ma Hoat”
เพราะความสุขเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ #ไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง 🥰