“ประเพณีแห่ดอกไม้” ของชาวไทยเบิ้งโคกสลุง

🔶 🔶  ประเพณีแห่ดอกไม้ เพื่อขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผ่านเพลงพิษฐาน ทำในช่วงตรุษสงกรานต์ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง

🔶 🔶  โดยในแต่ละปีชาวบ้านจะกำหนดวันแห่ดอกไม้ร่วมกัน เวลาแห่ดอกไม้ชาวบ้านจะร่วมกันเป็นหย่อม (ญาติพี่น้องละแวกเดียวกัน) จะมีพวกหนุ่มสาว หรือคนที่รู้จักกันข้ามหย่อมมาทำด้วยกัน จะตัดดอกไม้จากกระดาษว่าวหลากหลายสีสัน ติดกับก้านไม้ไผ่ หรือมีดอกไม้สดที่หาได้ในหน้านั้น

🔶 🔶  เช่น ดอกคูณ มีพวงมะโหตรตกแต่ง ประกอบเป็นพุ่มดอกไม้ ช่วงค่ำจะเฉลิมฉลองด้วยเพลงพื้นบ้าน ตามหน้าเดิ่น (ลานบ้าน) เพลงรำวง รำโทน ช้าเจ้าหงษ์ หอมดอกมะไพ เล่นตั้งแต่ช่วงค่ำถึงจนถึงแจ้ง เพราะมีความเชื่อว่าถ้าเลิกช่วงค่ำเสือจะขบ (กัด) หัว เล่นเพลงพื้นบ้านร้องเพลงตอบโต้กันไปมา

🔶 🔶 การทำพุ่มดอกไม้ยามค่ำคืนนี้จึงถือเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่หนุ่มสาวจะได้มาพบปะพูดคุยกัน ในหย่อมจะคุยกันเองว่าจะตั้งพุ่มแห่ดอกไม้กี่วัน

🔶 🔶 เมื่อฉลองเสร็จจะนำพุ่มดอกไม้ไปไว้ที่วัด โดยจะแห่รอบหมู่บ้าน ร้องรำสนุกสนานและมีโทนเป็นเครื่องดนตรี เมื่อถึงวัดวนขวารอบโบสถ์ 3 รอบ และจะนำเข้าในโบสถ์ เพื่อร้องเพลงพิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูป โดยมีแม่เพลงเป็นผู้ร้องนำ ชาวบ้านเป็นลูกคู่ร้องรับ

🔶 🔶  เช่น มีผัวให้ว่าง่าย มีลูกให้ว่าได้ ทำมาหากินให้อุดมสมบูรณ์ เป็นการขอพรผ่านเพลง ในระหว่างที่ตั้งพุ่มดอกไม้สามารถนำเงินมาสมทบทำบุญ คล้ายผ้าป่า เมื่อเสร็จแล้วจะถวายพุ่มดอกไม้ให้กับวัด เป็นอันเสร็จพิธี

🔶 🔶  ประเพณีแห่ดอกไม้ของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุงนี้จึงเป็นประเพณีที่งดงามเชื่อมความรักความสามัคคีของคนในชุมชน เป็นประเพณีที่แฝงไปด้วยภูมิปัญญา มรดกภาษา และความเชื่อทางพุทธศาสนาอันดีงาม สมควรแก่การเรียนรู้และอนุรักษ์ให้ประเพณีแห่ดอกไม้ได้ชูช่อบานที่บ้านโคกสลุงสืบต่อไป

🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻

The flower parade festival of Thai Bueng, Baan Khok Salung.

🔶 🔶  The flower parade festival is for praying the wishes from holy things through singing “Pleng -pit – sa -tarn”. We only have especially in “Song gran festival” which is inherited a long time ago by Thai Bueng locals, Baan Khok Salung.

🔶 🔶  Every year, the locals have to determine the day for this parade together. Locals will gather people who live surrounding their own tract that we call “Yom” and flock “The flower parade” together. Or young people who live in another “Yom” but know each other as well. And they will come to make the flowers by cutting colorful paper, sticking with bamboo stalks and beautifying by fresh flowers of summer and “Puang Ma Hoat”.

🔶 🔶  In the evening, we celebrate with folk songs in the yard until in the morning because we believe that if we stop earlier in the evening, the tiger would bite our head.

🔶 🔶  After we celebrated, we will take the flower bush to the temple by flocking around our village, singing and dancing together, “Ton” (Local drum) is our music instrumental. When we reach the temple, we will walk around the church 3 times before we go inside the church for singing “Pleng -pit – sa -tarn” for the wishes through the song while putting the flower bush, people can take money for merit-making to give the temple.

🔶 🔶  “The flower parade festival” of Thai Bueng, Baan Khok Salung therefore a beautiful festival to connect our love and united locals. Apart from that, this festival still shows our wisdom, language inheritance and Buddhism believing. This is worth learning and conserving forever.

♥️ ♥️ เพราะความสุขเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ #ไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง 🥰